โรคและวิธีการรักษา

แมวนับได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารัก การที่แมวมีสุขภาพแข็งแรงผู้เลี้ยงจะต้องดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา นอกจากอุปกรณ์และการให้อาหารที่สะอาดแล้วการป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อแมว เพราะจะช่วยป้องกันให้แมวมีสุขภาพที่แข็งแรง ผู้เลี้ยงควรจะหมั่นพาแมวไปฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่กำหนดหรือตามช่วงอายุของแมว เพื่อทำให้แมวมีภูมิป้องกันโรคต่างๆ ขึ้นในร่างกายและเป็นการช่วยลดการก่อให้เกิดโรคและเจ็บป่วยได้

แมวที่มีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงจะป่วยบ่อยๆ ผู้เลี้ยงควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อที่จะทำการ รักษาให้หาย นอกจากนั้นผู้เลี้ยงควรจะพาแมวไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่แมวจะได้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

ผู้เลี้ยงควรหมั่นเอาใจใส่สังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติของแมวอยู่เสมอ เพราะถ้าหากปล่อยไว้จนแมวไม่สบายมากจะทำให้การรักษายากลำบากขึ้น ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นตรวจสุขภาพแมวอยู่เสมออาการเริ่มแรกของแมวนั้นจะสังเกตได้ดังนี้

ที่มาYouTudeช่อง Mahidol Kids

นอกจากนี้น้ำหนักที่เพิ่มหรือลดของแมวนั้นสามารถบ่งบอกถึงอาการที่ผิดปกติได้ ถ้าหากน้ำหนัก ตัวของแมวลดมาก ให้พาแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที และทำการแยกแมวตัวที่ป่วยออกจากแมวที่มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อป้องกันโรคไม่ให้ติดต่อไปยังแมวตัวอื่น โรคที่มักจะพบบ่อยๆ ในแมว และวิธีการรักษาที่ถูกต้อง

โรงนี้เป็นโรคร้ายแรง สามารถเป็นได้ทุกฤดูและสามารถติดกับสัตว์อื่นๆได้เช่น สุนัข วัว รวมทั้งคนด้วย โรคนี้เป็นเชื้อไวรัสเรบี้ (Rabies)

แมวที่ป่วยจะแสดงอาการทางประสาท ลักษณะอาการที่แมวจะแสดงออกมานั้นจะมีทั้งพฤติกรรมดุร้าย และมีอาการซึมเศร้าตลอดอาการของโรคนี้แบ่งได้ 3 ระยะดังนี้

แมวจะมีนิสัยแปลกไปจากเดิม เช่น กินอาหารและน้ำน้อยลง

แมวจะมีอาการทางประสาทออกมาให้เห็นเด่นชัดได้แก่แมวจะแสดงอาการตื่นตัวกระวันกระวาย หงุดหงิด เมื่อผู้เลี้ยงไปสัมผัสที่ตัวแมวจะถูกแมวข่วนหรือกัดได้ แมวจะร้องเสียงแปลกออกไปจากเดิม ตัวแข็งท่อ ขากรรไกรแข็ง ปากอ้าลิ้นห้อย น้ำลายไหล และจะซึมเช่นนี้จนกว่าแมวจะตายลง

แมวจะเกิดอาการอัมพาตทั้งตัว เริ่มจากขาต่อมาก็ที่กล้ามเนื้อ กลืนน้ำลายและอาหารไม่ได้ ระบบหายใจล้มเหลวและตายในที่สุด

แมวจะทำการแพร่เชื้อทางน้ำลายสู่คน หรือสัตว์ที่อยู่ใกล้ เชื้อโรคนี้จะสามารถผ่านเข้าสู่บาดแผลหรือเยื่อเมือก เช่น ตา จมูก ปาก และโดยการถูกกัดจากแมวที่เป็นโรคนี้ได้

ผู้เลี้ยงควระพาแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่ลูกแมวและแมวโตสมบูรณ์ ตั้งแต่อายุ 10-12 สัปดาห์ และจะพาไปฉีดซ้ำเมื่อแมวมีอายุ 14-16 สัปดาห์ และฉีดซ้ำ ทุกๆ ปี ปีละครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า

โรคหวัดนี้เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แมวจะทำการรักษาด้วยตัวเองได้ ถ้าหากแมวเป็นมากหรือหนัก ผู้เลี้ยงควรจะให้ยาปฏีชีวนะและยาแก้หวัดโดยการบดเป็นผงใสหลอด กรอกให้กับแมว ผู้เลี้ยงควรตรวจดูว่าแมวมีอาการของโรคแทรกซ้อนหรือไม่ ถ้าหากพบให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

แมวจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร ตาแฉะมีขี้ตาจับ น้ำมูกไหล ไอและจาม

สามารถติดต่อเชื้อไวรัสนี้ได้จากการหายใจและการกินอาหารที่มีเชื้อโรคชนิดนี้เข้าไปจึงเกิดอาการได้

ถ้าแมวเป็นโรคหวัดจริงแต่เป็นไม่มากแมวจะหายเองได้ แต่ผู้เลี้ยงควรทำการแยกแมวที่ป่วยออกก่อนและให้แมวอยู่ในที่อุ่น มีอากาศถ่ายเทและทำการให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอเช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาลดน้ำมูก และหมั่นทำความสะอาดตาและจมูกด้วยผ้าที่ผสมน้ำเกลือและน้ำอุ่นเจือจางเช็ดเบาๆ ควรให้แมวพักผ่อนมากๆ กินอาหารที่อ่อนๆ ถ้าหากไม่ทุเลาและเป็นนาน ผู้เลี้ยงควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

โรคลำไส้อักเสบเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงอีกชนิดหนึ่ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส ถ้าผู้เลี้ยงพบว่าแมวมีอาการอาเจียนและท้องร่วงอย่างรุนแรง ควรจะพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจเลือด ถ้าหากพบว่าเลือดของแมวมีเม็ดเลือดขาวน้อย จึงเรียกว่าโรคเม็ดเลือดขาว

แมวที่ติดโรคจะมีลักษณะอาการไข้ขึ้นสูง ซึม เบื่ออาหาร แมวจะอาเจียน และถ่าย อุจจาระเหลวมีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง ท้องร่วงฉับพลัน ซูบผอมและแสดงท่าทางคอตก มีอาการขั้น รุนแรงและถ้าหากผู้เลี้ยงไม่พาไปรักษาแมวที่เป็นโรคจะตายลงในที่สุด

สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสอุจจาระของแมวที่ป่วยเป็นโรคได้

ผู้เลี้ยงควรจะรีบพาแมวที่เป็นโรคไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด และทำการฆ่าเชื้อบริเวณที่แมวเคยอยู่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หลังจากนั้นผู้เลี้ยงควรพาแมวไปฉีดวัคซีน ป้องกันโรคตั้งแต่แมวมีอายุ 9 สัปดาห์ ควรพาไปฉีดซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 1 เดือน เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และควรพาไปพบสัตวแพทย์ทุกๆ ปี เพื่อทำการฉีดยาป้องกันโรค

โรคนี้ระบาดไปทั่วในลูกแมวที่ยังไม่ทำการหย่านมจนถึงแมวโต เมื่อแมวเป็นโรคจะมีอัตราการตายต่ำและหายยาก แมวที่โตแล้วจะไม่ตายแต่ในลูกแมวนั้นมีโอกาสที่ตายเนื่องจากแมวที่เป็นโรคนั้นได้สูญเสียน้ำในปริมาณมาก

ส่วนใหญ่เกิดได้หลายสาเหตุ คือ เกิดจากอาหารและนมที่มีเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดพยาธิในทางเดินอาหาร ซึ่งจะมีพยาธิไส้เดือน, พยาธิเส้นด้าย, พยาธิตัวตีด, เชื้อบิด, เชื้อไวรัส ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบความต้านทานของแมว

แมวที่เป็นโรคจะมีอาการถ่ายอุจจาระเรียราดทั้งวัน แต่ในช่วงระยะแรกแมวจะมีอาการเป็นปกติจะกินอาหารได้ ระยะของโรคนี้จะทำการฟักตัวหลายวันแต่แมวบางตัวก็เป็นเดือน ลักษณะของโรคอุจจาระส่วนใหญ่จะเหลวข้น มีสีเหลืองอ่อนและเหลืองแก่บางครั้งมีอาหารที่ยังไม่ย่อยออกมาด้วย แมวบางตัวมีพยาธิไส้เดือน , พยาธิเส้นด้าย, พยาธิตัวตีดออกมาด้วย

ผู้ลี้ยงแมวควรรีบพาแมวไปพบสัตวแพทย์หรือทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของโรคที่เกิดขึ้นเช่นการเปลี่ยนอาหาร, การให้ยาปฏิชีวนะ, การให้ยากำจัดเชื้อบิด, การถ่ายพยาธิในทางเดินอาหาร, การให้ยาแก้ท้องเสียควบคู่ไปกับการให้น้ำเกลือ อาหาร และวิตามิน ร่วมกับการรักษาไปตามอาการ

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส แน่นอนโรคที่เกิดจากไวรัสยากที่จะรักษาและยากที่จะหายเองได้ แมวเป็นโรคนี้ส่วนมากพบว่ามีไข้สูง ร่างกายขาดน้ำเนื่องจากอาเจียนอย่างมาก ที่แมวอาเจียนออกมานั้นมักเป็นฟองสีเหลืองปนเขียว แมวจะท้องร่วงมากอุจจาระจะมีเลือดปนและมีกลิ่นเหม็น มีน้ำมูกน้ำตาไหลตลอดเวลาขี้ตาเกรอะกรังไอจามอยู่เสมอ ในบางตัวเกิดแผลในปากคอ ร่างกายทรุดโทรมเร็วมากชอบหลบไปนอนในที่มืด ๆ ตามปลายหางเมื่อจับดูจะเย็นผิดปกติ แผลในปากทำให้แมวมีน้ำลายเหนียวกลิ่นเหม็น

โรคนี้ทำให้ช่วงอกเกิดการอักเสบ หายใจไม่สะดวก เมื่อจับแมวยกขึ้นมักจะ ร้องเพราะเจ็บหน้าอก สุดท้ายแมวจะตายเพราะโรคนี้โดยตรงหรือไม่ก็เพราะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ในขณะที่ร่างกายกำลังย่ำแย่อ่อนแอ

โรคนี้เมื่อเกิดขึ้นกับแมวตัวใด หากไม่แยกออกจากตัวอื่นหรือไม่รีบ ช่วยเหลือก็อาจติดต่อไปยังแมวตัวอื่นชนิดตายยกคอกก็ได้ ในกรณีสงสัยว่าแมว มีท่าทางที่อาจจะเป็นโรคนี้ก็ควรรีบนำไปรับการรักษาโดยเร็วเผื่ออาจช่วยชีวิตแมวได้หรือป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการกระจายของโรคไปยังแมวตัวอื่นได้

เพื่อป้องกันไม่ให้แมวเป็นโรคนี้ ควรนำแมวไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันเมื่อแมวมีอายุได้ 4-5 เดือน ฉีดซ้ำอีกเมื่อครบ 1-2 สัปดาห์ และควรฉีด ซ้ำทุก ๆ ปีตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

อาการ

• เบื่ออาหาร
• ซึมเศร้า อ่อนเพลีย
• ไข้สูง
• อาเจียนและท้องเสียอย่างรุนแรง บางครั้งมีเลือดปน
• ขาดน้ำอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการสูญเสียน้ำจากการอาเจียนและท้องเสีย
• น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
• อาการชักหรือแสดงพฤติกรรมผิดปกติในบางกรณี (โดยเฉพาะในลูกแมวที่ได้รับผลกระทบ)
• อาการในลูกแมว:
ลูกแมวที่ได้รับเชื้อขณะอยู่ในครรภ์หรือติดเชื้อหลังจากเกิดอาจแสดงอาการทางระบบประสาทเช่นมีปัญหาในการเดินการทรงตัวผิดปกติ และสมองส่วนซีรีเบลล่าฝ่อลง

การรักษา

ไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะเจาะจงสำหรับไวรัส FPV เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส การรักษาจะเน้นที่การรักษาตามอาการและการประคับประคองเพื่อให้แมวมีโอกาสต่อสู้กับโรคได้
• การให้สารน้ำ (IV Fluids): แมวที่ติดเชื้อมักจะขาดน้ำอย่างรุนแรงเนื่องจากอาเจียนและท้องเสีย การให้สารน้ำเพื่อรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ
• ยาปฏิชีวนะ: อาจใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียทุติยภูมิในลำไส้
• ยารักษาอาการอาเจียน: เพื่อช่วยลดอาการอาเจียนและป้องกันการสูญเสียน้ำ
• การให้อาหาร: การให้อาหารที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานในการฟื้นตัว แม้แมวจะเบื่ออาหาร
• การดูแลใกล้ชิดในโรงพยาบาลสัตว์: ในกรณีที่อาการรุนแรง แมวอาจต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลสัตว์ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกัน

• การฉีดวัคซีน: วัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหัดแมว ลูกแมวควรได้รับวัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 6-8 สัปดาห์ และควรได้รับการฉีดซ้ำตามกำหนดเวลาของสัตวแพทย์ วัคซีนนี้เป็นวัคซีนพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสูง
• การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ: ในบ้านที่มีแมวติดเชื้อ ต้องทำความสะอาดพื้นที่ที่แมวสัมผัสด้วยสารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่อไวรัส FPV เช่น น้ำยาฟอกขาวผสมน้ำ
• การแยกแมวติดเชื้อ: แมวที่ติดเชื้อควรถูกแยกออกจากแมวตัวอื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส

ที่มาYouTudeช่อง Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *